Heart Chat Bubble

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


            
    ทินเนอร์  เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย   มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน   รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช

            ในข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) พ.ศ. 2553 กำหนดมาตรฐานของทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ ดังนี้ ทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ (lacquer thinner) หมายถึง ของเหลวระเหยง่ายประกอบด้วย เอสเทอร์ (ester) คีโทน (ketone) แอลกอฮอล์ (alcohol) และไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) สามารถละลายไนโตรเซลลูโลสเรซินได้ และยังช่วยลดความหนืดของวาร์นิชและสีด้วย
 
ลักษณะทั่วไปของทินเนอร์ :   เป็นของเหลวใส ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อน ระเหยง่าย 

            เนื่องจากทินเนอร์เป็นสารผสมของตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่ายหลายชนิด ดังนั้นในมาตรฐานทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ จึงกำหนดห้ามใช้ตัวทำละลายที่เป็นพิษ ได้แก่ เมธานอล (methanol) เบนซีน (benzene) และคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon)

            ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มักนิยมใช้เป็นส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ซึ่งนอกจากพบในทินเนอร์แล้ว ยังพบได้ในผลิตภัณฑ์อื่น เช่น กาวที่ใช้ซ่อมรองเท้า กาวสำหรับต่อท่อพลาสติก เป็นต้น  โดยในทินเนอร์ประกอบด้วยโทลูอีน ประมาณร้อยละ 66 ร่วมกับตัวทำละลายอื่น ได้แก่ คีโทน ประมาณร้อยละ 17 และอัลกอฮอล์ ประมาณร้อยละ 17 อ่านเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


           
 คลอรีนเป็นก๊าซสีเขียวอมเหลือง    ที่มีกลิ่นไหม้ที่แรง  (sharp, burning odor)    ซึ่งมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมเคมี        การฟอกสี      น้ำดื่มและการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ  และน้ำยาทำความสะอาด สารฟอกสีที่คลอรีนที่ใช้ในครัวเรือน  มีปริมาณของคลอรีนที่น้อยมากแต่สามารถปลดปล่อยก๊าซคลอรีนถ้ามีการผสมกับ น้ำยาทำความสะอาดอื่นๆ
            ผงฟอกสี (Bleaching Powder)     เป็นผงที่ประกอบด้วย    แคลเซียมคลอไรด์   (calcium chloride)    และแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (calcium hypochlorite)    ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือขาวปนเทา มีกลิ่นฉุนของคลอรีน  ละลายได้ในน้ำ  และอัลกอฮอล์ มีชื่ออื่นๆ ที่เรียกว่า chloride of lime หรือ chlorinated lime พิกัดความบริสุทธิ์ ของผงฟอกสี คือ ผงยาให้ chlorine ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

ชื่อทางเคมี :

            (Chemical Name): แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (calcium hypochlorite) อ่านเพิ่มเติม


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



           

       กรดเบนโซอิก (benzoic acid)    เป็นสารถนอมอาหาร หรือสารกันเสีย   หรือสารกันบูด (preservative agent) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร และในปัจจุบันยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางและยาด้วย  ในธรรมชาติกรดเบนโซอิก  ผลิตได้จากผลไม้ประเภทเบอรี่ พรุน และกานพลู 




            กรดเบนโซอิกจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิก หรือเกลือของกรดเบนโซอิก เช่น โซเดียมเบนโซเอตหรือโพแทสเซียมเบนโซเอต ในอาหารบางประเภท โดยกำหนดปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) เช่น ขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่งหรือผสมผลไม้ (300 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) ผลิตภัณฑ์ผักหรือสาหร่ายในน้ำส้มสายชู น้ำเกลือ หรือซีอิ๊ว (2,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผักบด ถั่วบด หรือเมล็ดพืชบด เช่น ซอสผัก ผักกวนหรือแช่อิ่ม (3,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) ซุปและซุปใส (500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) และสำหรับเครื่องดื่มเช่น น้ำผลไม้คั้น น้ำอัดลม ต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมเท่านั้น สำหรับอาหารประเภทอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักและผลไม้ เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง แยม เยลลี่ ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์ขนมอบต่างๆ และผลิตภัณฑ์อาหารประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปบางประเภท เช่น หมูยอ กำหนดปริมาณสูงสุดคือ 1,000 มิลลิกรัมของกรดเบนโซอิกต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักอาหาร อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


            
จากกระแสความใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้การรับประทานผักสดและผลไม้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตามมักพบการปนเปื้อนของสารกำจัดแมลงและวัชพืชตกค้างอยู่ในผักสดและผลไม้ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด  การบริโภคผักสดและผลไม้ที่มิได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ  อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารตกค้างเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายและหากรับประทานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นพิษต่อผู้บริโภค การล้างผักสดและผลไม้จึงควรล้างด้วยน้ำอย่างน้อยสามครั้ง หรือร่วมกับการใช้น้ำยาล้างผัก เพื่อช่วยกำจัดและลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้าง


            มีการใช้สารเคมีหลายชนิดสำหรับเป็นส่วนประกอบในการเตรียมสารละลายสำหรับล้างผักและผลไม้เพื่อกำจัดสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่ตกค้าง เช่น น้ำยาล้างผักที่ประกอบด้วยโซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) โซเดียม ออกไซด์ (sodium oxide) โซเดียม คาร์บอเนต (sodium carbonate) เอธานอล (ethanol) กลีเซอรอล (glycerol) และน้ำ นอกจากนี้ยังมีการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท (potassium permanganate) อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์ประกอบของน้ำยาล้างผักดังข้างต้น เช่น โซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) กลีเซอรอล เมื่อนำมาใช้ล้างผักสด แม้ว่าจะช่วยลดปริมาณการตกค้างของสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ แต่หากแช่ผักในน้ำที่ผสมน้ำยาล้างผักและตามด้วยการล้างน้ำไม่ดีพอ สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาล้างผักอาจเกิดการปนเปื้อนและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ สำหรับการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท ยังอาจทำให้ผักบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีม่วง  และหากใช้ในปริมาณสูงและล้างออกไม่หมดก็อาจทำให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน  อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เคมี


เคมี (อังกฤษchemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย [1][2] การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี
บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา[3][4] ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก[5]
มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี[6] สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง[7]
โดยทั่วไปเคมีมักเริ่มต้นด้วยการศึกษาอนุภาคพื้นฐานอะตอมโมเลกุล [8]แล้วนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับสสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารด้วยกันเองหรือปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสารอย่างเช่นพลังงาน แต่หัวใจสำคัญของเคมีโดยทั่วไปคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมี โดยสารเคมีนั้นมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม (ในเคมีแสง) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปีนั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น