Heart Chat Bubble

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


            
จากกระแสความใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้การรับประทานผักสดและผลไม้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตามมักพบการปนเปื้อนของสารกำจัดแมลงและวัชพืชตกค้างอยู่ในผักสดและผลไม้ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด  การบริโภคผักสดและผลไม้ที่มิได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ  อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารตกค้างเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายและหากรับประทานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นพิษต่อผู้บริโภค การล้างผักสดและผลไม้จึงควรล้างด้วยน้ำอย่างน้อยสามครั้ง หรือร่วมกับการใช้น้ำยาล้างผัก เพื่อช่วยกำจัดและลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้าง


            มีการใช้สารเคมีหลายชนิดสำหรับเป็นส่วนประกอบในการเตรียมสารละลายสำหรับล้างผักและผลไม้เพื่อกำจัดสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่ตกค้าง เช่น น้ำยาล้างผักที่ประกอบด้วยโซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) โซเดียม ออกไซด์ (sodium oxide) โซเดียม คาร์บอเนต (sodium carbonate) เอธานอล (ethanol) กลีเซอรอล (glycerol) และน้ำ นอกจากนี้ยังมีการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท (potassium permanganate) อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์ประกอบของน้ำยาล้างผักดังข้างต้น เช่น โซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) กลีเซอรอล เมื่อนำมาใช้ล้างผักสด แม้ว่าจะช่วยลดปริมาณการตกค้างของสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ แต่หากแช่ผักในน้ำที่ผสมน้ำยาล้างผักและตามด้วยการล้างน้ำไม่ดีพอ สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาล้างผักอาจเกิดการปนเปื้อนและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ สำหรับการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท ยังอาจทำให้ผักบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีม่วง  และหากใช้ในปริมาณสูงและล้างออกไม่หมดก็อาจทำให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน  อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น