Heart Chat Bubble

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


            
    ทินเนอร์  เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย   มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน   รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช

            ในข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) พ.ศ. 2553 กำหนดมาตรฐานของทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ ดังนี้ ทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ (lacquer thinner) หมายถึง ของเหลวระเหยง่ายประกอบด้วย เอสเทอร์ (ester) คีโทน (ketone) แอลกอฮอล์ (alcohol) และไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) สามารถละลายไนโตรเซลลูโลสเรซินได้ และยังช่วยลดความหนืดของวาร์นิชและสีด้วย
 
ลักษณะทั่วไปของทินเนอร์ :   เป็นของเหลวใส ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อน ระเหยง่าย 

            เนื่องจากทินเนอร์เป็นสารผสมของตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่ายหลายชนิด ดังนั้นในมาตรฐานทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ จึงกำหนดห้ามใช้ตัวทำละลายที่เป็นพิษ ได้แก่ เมธานอล (methanol) เบนซีน (benzene) และคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon)

            ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มักนิยมใช้เป็นส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ซึ่งนอกจากพบในทินเนอร์แล้ว ยังพบได้ในผลิตภัณฑ์อื่น เช่น กาวที่ใช้ซ่อมรองเท้า กาวสำหรับต่อท่อพลาสติก เป็นต้น  โดยในทินเนอร์ประกอบด้วยโทลูอีน ประมาณร้อยละ 66 ร่วมกับตัวทำละลายอื่น ได้แก่ คีโทน ประมาณร้อยละ 17 และอัลกอฮอล์ ประมาณร้อยละ 17 อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น